เสียงธรรม-ประวัติ คติธรรมและปฏิปทา หลวงตาพระมหาบัว

ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทาหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
อ่านและบันทึกเสียงโดย พระอาจารย์มหาธีรนาถ อคฺคธีโร

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๑-๓

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๔-๖

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๗-๙

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๑๐-๑๑

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๑๒-๑๔

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๑๕-๑๖

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๑๗-๑๙

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๒๐-๒๒

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๒๓-๒๕

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๒๖-๒๘

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๒๙-๓๑

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่๓๒-๓๔

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๓๕-๓๗

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๓๘-๔๐

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๔๑-๔๒

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๔๓-๔๕

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๔๖-๔๘

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตอนที่ ๔๙-๕๑

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน ธรรมโอวาทพระสุปฏิปันโน | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน เสียงธรรม-ประวัติ คติธรรมและปฏิปทา หลวงตาพระมหาบัว

ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๔)

หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ผู้ถาม:- “เวลานั่งปฏิบัติกรรมฐานตอนกลางคืนนะคะ นั่งไปก็มีความกลัว ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรคะ…?”

หลวงพ่อ:- “เราก็บอก ฉันไม่กลัวๆๆๆๆ”

ผู้ถาม:- (หัวเราะ)

หลวงพ่อ:- “เอายังงี้หนู ไอ้เรื่องกลัวนี่เป็นของธรรมดา แต่ก็ต้องระวังนะ มันกลัวมากจริง ๆ เราต้องเลิกเสียก่อนนะ ถ้าประสาทหวั่นไหวมาก มันเสียผลเหมือนกัน วิธีจะให้กลัวน้อย ต้องให้มีคนอยู่ใกล้ๆ อย่าไปฝืนอยู่นะ รีบเลิกเสีย แล้วก็นอนภาวนาให้หลับไปเลย แค่นี้พอ”

ผู้ถาม:- “นอนภาวนาได้หรือคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ได้… ถ้าภาวนาให้หลับไปนี่ได้กำไร ถ้าเราภาวนาอยู่ ถ้าจิตเข้าไม่ถึงฌาน มันจะไม่หลับ พอจิตเข้าถึงฌานปั๊บ มันจะตัดหลับทันที นอนหลับภาวนาสัก ๑ ชั่วโมง มันจะมีความชุ่มชื่นดีกว่านอนหลับไม่ภาวนาหลายชั่วโมง และในช่วงแห่งการหลับ เราถือว่าหลับอยู่ในสมาธิตลอดเวลา เวลาตื่นขึ้นมาจิตจะสบาย

เวลาที่เราหลับอยู่ในฌาน เราจะสังเกตได้ว่า ถ้าเราตื่นขึ้นมารู้สึกเต็มที่แล้ว นอนอยู่แบบนั้น ต้องบังคับให้มันภาวนา อย่างนี้แสดงว่าขณะหลับเราเข้าถึงฌานหยาบ

หากพอตื่นขึ้นมา มีความรู้สึกตัวเต็มที่ แล้วมันภาวนาเอง แสดงว่าเมื่อหลับเราเข้าถึงฌานอย่างกลาง

ถ้ารู้สึกตัวครึ่งหลับครึ่งตื่น มันภาวนาของมันเอง แสดงว่าตอนที่หลับเราเข้าถึงฌานละเอียด

ฉะนั้นการนอนภาวนาให้หลับไปเลย ควรใช้ให้เป็นปกติ การนอนภาวนานี่ถ้ามันจะหลับ อย่าไปดึงมันไว้นะ ถ้าภาวนาถึง “พุท” ไม่ทัน “โธ” มันจะหลับ ปล่อยเลย เพราะการเข้าฌานเราต้องเข้าให้เร็วที่สุด ไม่ต้องการภาวนานาน”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อคะ เวลานั่งสมาธิ แล้วมีความรู้สึกว่ามีเสียงมากระทบ ทำให้รู้สึกวูบไป”

หลวงพ่อ:- “ตกใจไหม…?”

ผู้ถาม:- “ก็ไม่เชิงตกใจค่ะ”

หลวงพ่อ:- “ฉันก็เคยเจอะเหมือนกัน แต่นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดานะ มันซู่มันซ่าก็ช่างมันปะไร”

ผู้ถาม:- “แล้วจะเป็นอะไรไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:- “ไม่เป็นไรหรอก เวลาจะนั่งกรรมฐาน ต้องคิดไว้เสมอไว้ จะเป็นผีเป็นเทวดานี่เขาเข้าถึงตัวเราไม่ได้ วัดจากตัวเราไปได้ ๑ วารอบ ๆ อย่างเก่งก็มีฤทธิ์ได้แค่นั้น แต่ว่าจิตอยู่ในเกณฑ์ของสมาธิมากหรือน้อยก็ตาม ถ้าเราสมาทานแล้ว คำว่าผีจริงๆ เข้ามาไม่ได้เลย ที่จะเข้าใกล้เราได้มีพวกเทวดาเท่านั้น นี่จำไว้เลย ถ้าเห็นภาพปรากฏ เป็นคน เป็นอะไรก็ตาม เป็นเทวดาทั้งหมด ผีต่างๆ ไม่มีสิทธิ์จะเข้ามา

แต่ว่าถ้าเจริญกรรมฐาน จิตจะเริ่มเข้าถึงปีติ อันนี้ท้าวมหาราชจะส่งเทวดาเข้าคุมทุกคนนะ ปีตินั้นคือ จิตใจของเรามีความแน่วแน่หรือว่าเราต้องการ เวลาเจริญพระกรรมฐานนี่นะ การทำสมาธิจิตจะแบบไหนก็ตาม ถ้าเรามีความชอบใจ อันนี้เป็นปีติ ตั้งแต่ระยะนี้เป็นต้นไป ท้าวมหาราชจะส่งคนมาคุม กันผีเข้ามารบกวน

แต่ว่าพวกผี หรือที่เรียกว่าอมนุษย์ ถ้าจะมาทำร้ายเราล่ะ เขาเข้าไม่ได้เลย แต่ว่าถ้าบังเอิญเขาเห็น เรานั่งไปเราก็เห็น ว่ามีคนสักคนหนึ่งลากคอคนหรือรัดมือรัดเท้าลากไป อย่าไปห้ามนะถ้าหากมาเป็นศัตรู เขาก็จัดการทันที

ถ้ามันจะมาขอส่วนบุญ ถ้าเข้ามาใกล้ แค่มายืนได้แค่วากว่า ๆ ถ้าเราสงสัย เราเห็นเข้า ก็อุทิศส่วนกุศลให้แก รูปร่างหน้าตาแจ่มใส แกก็ไป ไม่มีอะไร ไม่ต้องกลัว”

.
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๕๒-๕๕ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

โพสท์ใน หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๔)

ภาพธรรมทัศนาจรอิสาน ๓-๕ มิถุนายน ๒๕๕๔

        เมื่อวันที่ ๓-๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ศูนย์พุทธศรัทธานำผู้มีจิตศรัทธาไปร่วมบำเพ็ญกุศล ถวายสังฆทาน-ฟังธรรมจากพระสุปฏิปันโนสายอิสาน กราบสักการะพระพุทธรูปและนมัสการสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง ชมภาพและโมทนาบุญร่วมกันครับ

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน กิจกรรม ๒๕๕๔ | ติดป้ายกำกับ , , | 7 ความเห็น

บทสวดคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

บทสวดคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

บทนำ

บูชาพระรัตนตรัย

คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

โพสท์ใน บทสวดมนต์-พระคาถา | ติดป้ายกำกับ , | 4 ความเห็น

ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๓)

หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ผู้ถาม:- “ผมอยากจะถามหลวงพ่อหน่อยครับ คือตอนที่นั่งสมาธินี่นะครับ จิตมันอยู่ที่ไหนครับ…?”

หลวงพ่อ:- “เวลานั่งสมาธินี่ จิตมันอยู่ที่ใจโยมใช่ไหม..?”

ผู้ถาม:- “แต่กระผมได้ยินเขาบอกว่า อยู่ที่ระหว่างคิ้วบ้าง อยู่ที่ปลายจมูกบ้าง ผมก็ยังสงสัยอยู่ครับ”

หลวงพ่อ:- “นั่นเขาเอาอารมณ์เข้าไปจับ คือว่าอารมณ์เข้าไปจับมันที่ไหนก็ได้นะ แต่ว่าตามปกติแล้วพระพุทธเจ้าตรัส ท่านให้จับอยู่ตรงลมหายใจเข้าออก นี่เป็นพุทธพจน์นะ เป็นของพระพุทธเจ้าจริง ๆ เวลาทำสมาธิถ้าทิ้งลมหายใจเข้าออก สมาธิกองอื่น ๆ จะเกิดไม่ได้เลย นี่เราเรียกว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน ถ้าทิ้งกรรมฐานกองนี้แล้ว กองอื่น ๆ ทำไม่ได้เลย”

ผู้ถาม:- “ระหว่างที่นั่งลงไปแล้ว ไอ้จิตมันก็คอยคิดแต่เรื่องงานเรื่องการ อันนี้จะทำยังไงครับ…?”

หลวงพ่อ:- “อันนี้เป็นธรรมดาโยม เขาเรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจจะ มันเป็นธรรมดาของจิต จิตมันมีสภาพดิ้นรน คิดอยู่เสมอ และเวลาที่เราทำสมาธิก็ต้องเผลอบ้างเป็นธรรมดา ถ้าจะไม่มีการเผลอเลย มีการทรงตัวจริง ๆ เวลานั้นจิตต้องอยู่ในช่วงของฌาน ๔ อันนี้เป็นเรื่องจริง ๆ นะ”

ผู้ถาม:- “วิธีจะดับ จะดับอย่างไรครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ผูกคอตายก็ได้”

ผู้ถาม:- (หัวเราะ)

หลวงพ่อ:- “ไอ้คำว่า ดับ ในที่นี้นะคือ ให้จิตหยุดจากอารมณ์ โยมทำไม่ได้หรอก โยมทำจริง ๆ โดยไม่คิดอะไรอื่นไม่ได้ เพราะยังไม่อยู่ในฌาน ๔ และไอ้จิตของเราถ้าให้มันอยู่ในฌาน ๔ จริง ๆ ก็ยาก เพราะว่าต้องให้จิตเข้าถึงฌาน ๔ ก่อน ถ้าเป็นฌาน ๑,๒,๓ ก็ยังดิ้นอยู่ ยังส่ายอยู่

เอาอย่างนี้ดีกว่า การเจริญพระกรรมฐานถ้ามุ่งแบบนี้มันไม่สำเร็จหรอก มุ่งเอาแต่สบายใจ ทำเวลาไหน สบายแค่ไหนพอใจแค่นั้น คือเราไม่ตั้งอารมณ์ไว้ก่อน ถ้าตั้งอารมณ์ไว้ก่อนว่าวันนี้เราต้องการฌาน ๓ ฌาน ๔ วันนั้นจะไม่ได้อะไรเลย มันเกร็งเกินไป ถ้าตั้งใจมากวันนั้นโยมทรงตัวไม่อยู่ จะต้องใช้แบบพระพุทธเจ้าที่เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทำแบบปานกลาง วันไหนสบายใจแค่ไหน วันนั้นเราทำแค่นั้น พอใจแค่นั้น

การที่จะให้จิตได้จริง ๆ ต้องฝึกโดยการตั้งเวลา ถ้าทำสมาธิได้พอสมควรแล้ว ก็เริ่มตั้งเวลา ถ้าฌานน้อย ๆ ก็สัก ๓ นาที หรือใช้นับลูกประคำ ตั้งแต่ ๑ ถึง ๒๐ ในช่วง ๒๐ ไม่ให้จิตไปไหนเลย ถ้าจิตเราวอกแวกไปไหนนิดหนึ่ง เราตั้งต้นนับใหม่ ภาวนาว่า พุทโธ ก็ได้ สัมมาอรหัง ก็ได้ ภาวนาไปจบก็ดึงไปเม็ดหนึ่ง ในช่วง ๒๐ เม็ด เราจะไม่ยอมให้จิตคิดเรื่องอื่นเป็นอันขาด นอกจากคำภาวนา ถ้ามันเริ่มคิดก็ตั้งต้นใหม่ ทำอย่างนี้ ค่อยทำไป ถ้าเห็นจิตจะเฟื่องเลิกเสีย ทำอย่างนี้จนชิน จนกระทั่งหลายวันจิตไม่ไปไหน ก็ขยับไป ๓๐ เม็ด ให้มันทรงตัวจริง ๆ ตอนหลังการทรงฌานสบายมาก”

ผู้ถาม:- “นอกจากเราจะใช้คำว่า พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง เราจะใช้คำภาวนาอย่างอื่นได้ไหมครับ เช่น วิระทะโย หรือเป็นคำภาวนาแบบภาษาไทย”

หลวงพ่อ:- “อันนี้อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้หมดนี่คุณ เป็นสมถะ อาตมาไม่ได้ห้าม สัมมาอรหัง ก็เป็น พุทธานุสตติกรรมฐาน ถึงแม้ วิระทะโย กล่าวถึงพระ ก็ใช้ได้หมด เป็นกุศลเหมือนกัน”

ผู้ถาม:- “ถ้าหากว่า นึกถึงครูบาอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งได้ไหมครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ได้ ถ้าครูบาอาจารย์องค์นั้นเป็นพระสงฆ์ ก็เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระธรรม เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน แต่ไอ้ตอนนึก ถ้าเห็นว่าจิตมันซ่านเกินไป ก็ใช้คำภาวนาสั้น ๆ แทน ทั้งสองอย่างอนุญาตให้ทำได้หมด เพราะถูกต้องตามแบบ”

ผู้ถาม:- “เวลาไปชวนเขาทำสมาธิ บางคนเขาบอกว่า กลัวเป็นบ้า กลัวจะไปเห็นของน่าเกลียดน่ากลัว อันนี้เป็นความจริงไหมครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ความจริงการเจริญสมาธิไม่มีอะไรน่ากลัว อย่าลืมว่าถ้าจิตเราดีแล้ว อย่างน้อยที่สุดจิตต้องเข้าถึงอุปจารสมาธิ มีปีติถึงจะเห็นภาพ แต่ภาพที่เราเห็นในสมาธินั้นเป็นภาพสวย เป็นภาพน่ารัก ไม่ใช่ภาพน่ากลัว ที่ว่าเป็นบ้าน่ะ ก็เพราะฝืนอาจารย์ ฝืนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าบอกว่าการปฏิบัติต้องเว้นส่วนสุด ๒ อย่างคือ
๑.อัตตกิลมถานุโยค อย่าเครียดเกินไป
๒.กามสุขัลลิกานุโยค อย่าอยากเกินไป

ต้องใช้ มัชฌิมาปฏิปทา คือต้องทำกลาง ๆ แบบสบาย ๆ ไม่บ้านะ”

(แหม…ไอ้คนกลัวดีนี่มีเยอะจัง ทั้ง ๆ ที่เป็นของดี ถ้าไม่ดีก็คงไม่มีใครเขาแนะนำ ทีมีคนไปชวนกินเหล้า ไม่เห็นกลัวกันบ้างน่าแปลกแฮะ)

.
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๔๙-๕๒ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

โพสท์ใน หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๓)

ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๒)

หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ผู้ถาม:- “ขอนมัสการครับ กระผมขอทราบว่า สภาวะจิตสงบ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นภวังค์ จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ มีสภาวะแตกต่างกันอย่างไรครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ถามมา ๔ ข้อ แต่ตอบได้ ๒ ข้อ มันแตกต่างกันแค่ จิตเป็นภวังค์ อย่างเดียว นอกนั้นอย่างเดียวกัน จิตสงบ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ก็คือ จิตเป็นสมาธิ ก็หมายความว่าจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

อย่างโยมอยากจะไปขโมยควายเขา ตั้งใจว่าควายบ้านนี้กูขโมยแน่ นี่เป็นสมาธิ คือตัวตั้งใจอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเขาเรียกว่าสมาธิ แต่ว่าสมาธิแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ ตั้งใจขโมยควายเขา เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าตั้งใจสร้างความดี เป็นสัมมาสมาธิ”

ผู้ถาม:- “ตามที่กระผมอ่านในตำรา เขาบอกว่าจิตขึ้นมารับอารมณ์ชั่วขณะจิต พอหมดไปแล้วบอกว่าจิตเป็นภวังค์ แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงขอเรียนถามหลวงพ่อว่า จิตเป็นภวังค์ หมายความว่าอย่างไรครับ…?”

หลวงพ่อ:- “คำว่า ภวังค์ นี่ก็คืออารมณ์ปกติ ส่วนมากคนมักเข้าใจกันผิด พอจิตตกมีสภาพวูบดิ่ง จิตทรงตัว บอกว่าเป็นภวังค์ อย่างนี้ไม่ใช่นะ พูดง่ายๆ อารมณ์ธรรมดานี่แหละ อารมณ์ไม่ได้ความนี่เอง

เอาเรื่องง่ายๆ ไม่ดีกว่าหรือ…พระพุทธเจ้าท่านสอนง่ายกว่านี้มีเยอะ ทำไมถึงชอบยากๆ กินหมูมีกระดูกมาก กินปลามีก้างมาก มันจะดีรึ

เอาอย่างนี้ดีกว่า ทำยังไงที่จะไม่ให้จิตคบกับนิวรณ์ ๕ ได้ มีประโยชน์มากกว่าตั้งเยอะ อย่างที่โยมว่าอีกหลายชาติก็ยังไม่ถึงนิพพาน ระวังมันจะมีมานะ ไปนั่งเถียงกัน แกไม่รู้จักขณะจิต พังเลย เราแย่ คนที่คิดน่ะแย่ มานะนี่หยาบมาก ยกยอดทิ้งไปเลย ไปงั้นไม่มีทางไป

ที่ว่ามานะ ฉันอ่านมาแล้ว ฉันหมุนมาแล้ว จึงเลิก โยมยังไม่เลิก เพราะว่าศัพท์ประเภทนี้มันเหมาะสำหรับคนสมัยนั้น คนสมัยนี้ไม่ควรจะใช้ศัพท์สมัยนั้นมาก เพราะว่าอุปนิสัยของคนไม่เท่าคนสมัยนั้น คำสอนแต่ละคำสอนแต่ละช่วงจะเหมาะสำหรับคนแต่ละสมัย คนที่สั่งสมอบรมมาดีแล้ว ถ้าเราไปพูดยาวแทนที่จะดี กลับทำให้รำคาญ เพราะคนพวกนี้ใกล้เต็มที่ ไอ้คนจะถึงประตู ไปอธิบายต้นทางมันก็รำคาญ ใช่ไหม…ว่าไง โยม มีอะไรอีกไหม…?”

ผู้ถาม:- “ขออาราธนาหลวงพ่อเทศน์เรื่อย ๆ ไปครับ”

หลวงพ่อ:- “ฉันก็เหนื่อยน่ะซิ เครื่องกัณฑ์มีรึยังล่ะ นิมนต์เทศน์ก็ต้องติดเครื่องกัณฑ์ ถ้าอธิบายไม่ต้องติด”

ผู้ถาม:- “นิมนต์หลวงพ่ออธิบายต่อไปเรื่อย ๆ ครับ”

หลวงพ่อ:- “เอายังงี้ดีกว่า คิดแต่เพียงว่า เราจะทำอย่างไร จึงจะวางภาระในขันธ์ ๕ เสียได้ เอาตรงนี้แหละ นั่งดูว่าร่างกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ควรจะมีอีกไหม ถ้าเราต้องการมันอีก เกิดมากี่ชาติ เราก็มีสภาพแบบนี้ มีทุกข์แบบนี้ ทำยังไงจึงจะไม่มีทุกข์ ที่จะไม่มีทุกข์ได้ ก็คือ

๑.ตัดโลภะ ความโลภ โดยการให้ทาน เจริญจาคานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์
๒.ตัดโทสะ ความโกรธ ให้ทรงพรหมวิหาร ๔ หรือ กสิณ ๔ หรือ ตัดมานะ ความถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา
๓.ตัดโมหะ ความหลง โดยการใช้ปัญญาพิจารณา และยอมรับนับถือตามความเป็นจริง คือว่าเกิดมาแล้วก็ต้องมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันเป็นธรรมดา ก็เท่านี้แหละ ยากไหม…?”

ผู้ถาม:- “ฟังดูก็ไม่ยากหรอกครับ แต่ทำไม่ค่อยจะได้ แต่ก็จะพยายามครับ”

.
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๔๗-๔๙ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

โพสท์ใน หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๒)