ขอเชิญร่วมทำบุญซ่อมสมเด็จพระพุทธกัสสป

      สมเด็จพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า(หน้าตัก ๘ ศอก) ศูนย์พุทธศรัทธา ขณะนี้ผิวบางส่วนชำรุด จะซ่อมแซมและทาสีใหม่ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ในศุภวาระมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ ๘๔ พรรษา

ท่านที่มีจิตศรัทธาจะร่วมทำบุญ สามารถร่วมบุญได้ตามกำลังศรัทธาโดย :

กิจกรรมนี้ปิดรับการร่วมบุญแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน กิจกรรม ๒๕๕๔ | ติดป้ายกำกับ , | 28 ความเห็น

ภาพงานบวชวันแม่ ๑๒-๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

        เมื่อวันที่ ๑๒-๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศูนย์พุทธศรัทธาได้จัดงานบวชเนกขัมมะบารมี ครั้งที่ ๗๓ ถวายเป็นพุทธบูชาและถวายพระราชกุศลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ขอนำภาพบางส่วนของงาน มาให้ทุกๆ ท่านได้ร่วมกันอนุโมทนาครับ

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน กิจกรรม ๒๕๕๔ | ติดป้ายกำกับ , , | 2 ความเห็น

ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๗)

หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ผู้ถาม:- “เมื่อจิตสงบแล้วเป็นเอกัคคตารมณ์ เราจะพิจารณาตอนนี้ หรือว่าต้องถอนจิตมาพิจารณาครับ?”

หลวงพ่อ:- “ไม่ต้องถึงอย่างนั้นหรอกโยม เรื่องพิจารณานี่เราจะเริ่มตั้งแต่ตอนต้นได้เลย คือว่าวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ เขาทำกันแบบนี้นะ คือว่าในตอนนั้นหรือจุดเริ่มต้นน่ะ เราพอใจในอะไร ถ้ามันกระสับกระส่ายก็ใช้อานาปาเข้าควบคุมให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบดีแล้ว ก็ถอยมาสู่อุปจารสมาธิมาพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่พิจารณาเฉยๆ ต้องเอาสังโยชน์เข้ามาคุมเป็นพื้นฐานด้วยว่า เราจะตัดจุดไหนกันแน่ พอพิจารณาไปอารมณ์มันจะซ่านออก พอซ่านออกต้องทิ้งการพิจารณาเสีย แล้วมาจับอานาปาใหม่ ให้จิตทรงตัวดีแล้วมีอารมณ์เป็นสุข จิตมันทรงตัวดีก็ไปพิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมาแบบนี้นะ นี่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ

บางท่านก็พิจารณาได้ดี พอเริ่มต้นพิจารณาอยู่ในขอบเขตได้ดี ตัวพิจารณานี่เป็นตัวตัดกิเลสตรง ถ้าหากว่าใครพิจารณาได้ตลอด โดยไม่ภาวนาเลยยิ่งดีใหญ่ เพราะการพิจารณานี่เป็นตัวปัญญา เป็นตัวตัด อารมณ์ทรงมีจิตเป็นสุข พิจารณาเฉยๆ สบายๆ จนกระทั่งตัดกังวลทั้งหมด กังวลที่ตัด ก็คือร่างกายของเรา เรียกว่าขันธ์ ๕ ถ้าเราตัดตัวเราได้ ก็ตัดคนอื่นได้ ใช่ไหม…ดีไม่ดี เราตัดคนอื่นได้ แต่เราตัดตัวเราไม่ได้ เพราะยังเกาะ

ฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านให้ตัดจุดเดียว คือ สักกายทิฏฐิ ใน สังโยชน์ ๑๐ น่ะ ตัดสักกายทิฏฐิจุดเดียว ถ้าอารมณ์มันเบาลงไปหน่อยก็เป็นพระโสดาบัน เบามากไปอีกนิดก็เป็นสกิทาคามี เบามากขึ้นไปก็เป็นพระอนาคามี ตัดได้หมดเป็นพระอรหันต์”

ผู้ถาม:- “ถ้าผู้ฝึกมโนมยิทธิแล้ว จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้เร็วไหมครับ…?”

หลวงพ่อ:- “ความจริงพวกที่ได้มโนมยิทธินี่ตัดง่าย เป็นกำไร เพราะว่าพวกที่ได้ทิพจักขุญาณอย่างหนึ่ง และพวกที่ได้มโนมยิทธิอย่างหนึ่ง ท่านมีขอบเขต ท่านบอกว่าคนพวกนี้
ถ้ามีบารมีแก่กล้า ก็จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
ถ้ามีบารมีอ่อน จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี
ท่านไม่ได้บอกว่าไม่ได้เลย ถ้าอ่อนก็ภายใน ๗ ปี อาจจะเป็น ๑ ปีก็ได้”

.
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๒-๖๔ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

โพสท์ใน หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๗)

หลวงพ่อฤาษีฯ สอนอานาปานุสสติกรรมฐาน ๙

หลวงพ่อฤาษีฯ สอนอานาปานุสสติกรรมฐาน
ตอนที่ ๙ พระสกิทาคามีมรรค-ราคะ ๑

      ไอ้ขันธ์ ๕ คือร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี ปรกติมันเป็นสุขหรือมันเป็นทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่ามันทุกข์ทุกจุด เราจะทรงกายขึ้นมาได้นี่มันทุกข์ทุกวัน ไม่มีจะกินมันก็ทุกข์ กินเข้าไปแล้วมันก็ทุกข์ การหากินมันก็ทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวัง ความป่วยไข้ไม่สบาย อาการพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบใจ ความตายมันจะเข้ามาถึง มันก็ทุกข์ ใครทุกข์ มันทุกข์หรือเราทุกข์ แต่ความจริงเราไม่ใช่มัน เราทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะเราโง่ โง่ไปยึดถือว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน หลวงพ่อสอนอานาปานสติ | ติดป้ายกำกับ | ปิดความเห็น บน หลวงพ่อฤาษีฯ สอนอานาปานุสสติกรรมฐาน ๙

สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๔ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๔
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม-ปกิณกะธรรม

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑.อย่าทิ้งการระลึกนึกถึงอนุสสติ ๑๐ ประการ ให้พิจารณาและใคร่ครวญอยู่เสมอ จักทำให้จิตทรงตัวอยู่ในความดี และมีความมั่นคงในพระนิพพานยิ่งๆ ขึ้นไป (อนุสสติ ๑๐ คือ พุทธา ธัมมา สังฆา สีลา จาคา เทวตา กายคตา มรณา อุปสมา และอานาปา)

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน คำสอนสมเด็จองค์ปฐม | ติดป้ายกำกับ | ปิดความเห็น บน สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๔ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

โทสะจริต-จริต ๖ ชุดทูลถวาย

โทสะจริต-จริต ๖ ชุดทูลถวาย
โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

      อาตมาขอถวายพระพรในด้านของ โทสะจริต สำหรับโทสะจริตนี้ ก็เห็นจะเป็นเช่นเดียวกับราคะจริต เพราะว่าท่านที่จะตัดได้จริงๆ ก็ต้องเป็นพระอนาคามี ตามที่ถวายพระพรมาแล้วในสมัยที่กล่าวถึงราคะจริต

สำหรับ โทสะจริต แปลว่า คนมักโกรธ แต่ความจริง จริตทุกอย่างย่อมมีกับคนทุกคนทั้งหมด เพราะว่าไม่ใช่คนใดคนหนึ่งและก็มีหนึ่งจริต ไม่ใช่เช่นนั้น แต่ละคน แต่ละคน ก็ต่างคนต่างมีจริตด้วยกันหมด ทั้งหกประการ แต่ทว่าจะมีจริตอะไร ไปมั่วสุมหรือไปหมกอยู่บ้างเท่านั้น มีกำลังอ่อน หรือว่ามีกำลังเข้มแข็ง

อย่างคนในโลกมามีทั้งหมด คนที่ไม่รักสวยไม่รักงามเลย ก็ไม่มี แต่ที่ท่านเรียกว่าราคะจริตนำ ก็เพราะว่าหนักไปในด้านสวยด้านงามเป็นกรณีพิเศษ อะไรทุกสิ่งทุกอย่างต้องเรียบร้อยไปหมด แม้จะไปตักน้ำ ฟันฟืน เข้าป่า ก็ต้องหวีผมให้เรียบ จัดเครื่องแต่งกายให้เรียบ ทั้งๆที่ต้องทำงานหนัก อย่างนี้เป็นต้น จัดว่าเป็นประเภทของราคะจริต ความรักสวยรักงามเป็นเรื่องใหญ่ อะไรๆก็ต้องสวย อย่างนี้เป็นราคะจริต

แต่ว่าเนื้อแท้จริงๆ คนที่มีราคะจริต การต้องการความเรียบร้อย ความสวยสดงดงาม มีเหมือนกันทุกคน แต่ว่าไม่เท่ากัน บางคนก็เรียกว่าแต่งกายเพียงแค่สุกเอาเผากินก็ใช้ได้ อย่างอาตมาเป็นต้น ขอประทานอภัย พูดอ้างตนนี่พระพุทธเจ้าท่านห้าม แต่ที่อ้างมาก็เพราะว่า อาตมาเองเป็นคนสุกเอาเผากินในเรื่องการแต่งกาย ไม่ค่อยจะเรียบร้อยนักว่าไม่สนใจ ไม่ใช่ว่าไม่สนใจเมื่อแก่ เมื่อหนุ่มยิ่งไม่สนใจมากกว่านี้ ตอนแก่เข้าดูเหมือนว่าจะดีกว่าหนุ่มนิดหน่อย

ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเกรงว่ามันจะรุ่มร่ามเกินไป ที่ว่าพระแก่รุ่มร่าม ยิ่งตอนสมัยที่เป็นพระหนุ่ม จีวรสีเหลืองไม่ห่ม ห่มแต่จีวรสีกรักอย่างเดียว เพราะมีอารมณ์ต้องการตัดราคะจริต ไม่ให้เกิดความพอใจในตัวของตัวเอง นั่นก็แสดงว่ามีราคะจริตอยู่มาก ไม่ใช่ไม่มี การทำตนเช่นนั้น เป็นการข่มขู่ เป็นการบังความรู้สึก ไม่ให้เกิดความพอใจ และไม่ให้เกิดความผูกพัน

ทีนี้คนที่เกิดมาในโลก คนที่ไม่รู้จักโกรธเลยก็ไม่มีเหมือนกัน เป็นอันว่ารู้จักโกรธเหมือนกัน แบบเรียกว่าใครจะโกรธหนักกว่ากัน น้อยกว่ากัน ไวกว่ากัน ช้ากว่ากันเท่านั้น

สำหรับโมหะจริต อารมณ์ที่คิดอะไรไม่ออก ในกาลบางครั้งบางคราวเคยปลอดโปร่ง แต่บางครั้งคิดไม่ออก อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน ความผูกพันในวัตถุ ความผูกพันในบุคคล ที่เรียกกันว่าโมหะจริต อันนี้ก็มีอยู่ด้วยกันทุกคน แต่ว่าใครจะมากจะน้อยเท่านั้น

ความเชื่อถือ บางครั้งก็ใช้ปัญญาน้อยไปหน่อย ความเชื่อที่แท้ที่สัมปยุตไปด้วยปัญญา ท่านไม่เรียกว่าหนักไปด้วยศรัทธา ศรัทธาจริตนี้ เรียกว่า ความเชื่อถือที่ใช้ปัญญาน้อยไปนิดหนึ่ง คือคิดน้อยไปหน่อย หรือที่เรียกกันว่าคิดไม่ทัน อย่างนี้ก็ต้องมีเหมือนกันทุกคน จะมากหรือจะน้อยกว่ากันเท่านั้น

ทีนี้ความปลอดโปร่ง ความเฉลียวฉลาด ในกาลบางขณะ ก็ย่อมมีเหมือนกันทุกคน แต่ทว่าใครจะมีเป็นปกติ หรือไม่ปกติเท่านั้น

เป็นอันว่า จริตทั้งหก ทุกคนต้องยอมรับนับถือว่า ตนมีพร้อมมูลบริบูรณ์ แต่ว่าบางอย่างจะยิ่งหย่อนกว่ากัน บางอย่างจะเหนือกว่ากัน บางอย่างจะน้อยไปเท่านั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน จริต ๖ | ติดป้ายกำกับ , | ปิดความเห็น บน โทสะจริต-จริต ๖ ชุดทูลถวาย